Categories
Blog

10 ประโยชน์ของกระเทียม ที่พิสูจน์แล้วดีต่อสุขภาพ

ji jiali

ในปัจจุบัน ผู้คนหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ในเรื่องอาหาร ทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ทานผักและผลไม้มากขึ้น สำหรับคนที่ชอบทาน กระเทียม มีงานวิจัยในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า กระเทียมอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพของเรา อย่างแท้จริง เช่น ช่วยลดความดันโลหิต ระดับคอเลสเตอรอล และการป้องกันโรคหวัด เป็นต้น 

คุณเคยได้ยินคำนี้ไหมให้อาหารเป็นยา และยาเป็นอาหารของท่าน เป็นคำพูดจากแพทย์ชาวกรีกโบราณ เขาบอกว่า “กระเทียมคือรักษาภาวะทางการแพทย์ที่หลากหลาย และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ได้ยืนยันถึงผลดีต่อสุขภาพหลายประการเช่นกัน วันนี้ทางเพจจะพาไปทำความรู้จัก ประโยชน์ที่แท้จริงของกระเทียม

กระเทียม (Garlic) เป็นผักสมุนไพร กระเทียมใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นทั้งสมุนไพร และเครื่องเทศ ที่มีมาอย่างยาวนาน มักมีกลิ่นแรง มีกลิ่นฉุนจัด มีหัวใต้ดิน มีสรรพคุณทางยา ช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร หลากหลายชนิด ทั้ง ผัด ทอด ต้ม ตุ๋น สามารถนำไปประกอบอาหารสารพัดเมนู

 

1. มีสารที่มีสรรพคุณทางยา 

กระเทียม เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับ หัวหอมต่างๆ เช่น หอมแดง กระเทียม และ หัวหอม ส่วนมากมักเป็นส่วนผสมที่มักนำมาปรุงอาหาร เนื่องจากมีกลิ่นฉุน และเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากขึ้นนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม มีการนำกระเทียมมาปรุงอาหารที่ยาวนาน ตั้งแต่สมัยโบราญมาแล้วในหลักแห่งสุขภาพ และมีคุณค่าทางยาอย่างมาก มีการบันทึกไว้จากอารยธรรมต่างๆในสมัยก่อน เช่น อียิปต์ บาบิโลน กรีก โรมัน และจีน เป็นต้น

  • กระเทียมมี สารประกอบกำมะถัน เมื่อกระเทียมถูกสับ บด หรือเคี้ยว บางทีสารประกอบที่รู้จักกันดีที่สุดคือ อัลลิซิน
  • อัลลิซิน เป็นสารประกอบซึ่งมีอยู่ในกระเทียมสด เพียงช่วงสั้นๆ หลังจากตัดหรือบดแล้ว
  • สารประกอบกำมะถันจากกระเทียม เข้าสู่ร่างกายของคุณจากทางเดินอาหาร จากนั้นพวกมันจะเดินทางไปทั่วร่างกายของคุณ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
  • สารประกอบอื่นๆ  ได้แก่ diallyl disulfide และ s-allyl cysteine

สรุป กระเทียม เป็นพืชในตระกูลหัวหอม ที่เติบโตด้วยรสชาติที่โดดเด่นและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประกอบด้วยสารประกอบกำมะถัน ซึ่งเชื่อกันว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก

2. มีโภชนาการสูง แคลอรีน้อย

 หากทาน กระเทียมดิบ 1 กลีบ  จะประกอบด้วยโภชนาการต่างๆ กระเทียมยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกจำนวนมาก

  • วิตามิน B6: 2% ของมูลค่ารายวัน (DV)
  • วิตามินซี: 1% ของ DV
  • ซีลีเนียม: 1% ของ DV
  • ไฟเบอร์: 0.06 กรัม
  • ให้พลังงาน 4.5 แคลอรี่
  • โปรตีน 0.2 กรัม
  • แมงกานีส: 2% 
  • คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม
  • กระเทียมยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกจำนวนมาก

สรุป กระเทียม มีแคลอรีต่ำ และอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินบี 6 และแมงกานีส นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกจำนวนมากที่ร่างกายของเราต้องการอีกด้วย

3. ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

เมื่อไหร่ก็ตามที่ ไขมันในร่างกายของเรามีมากจนเกินไป มีไขมันสูงมาก ทำให้หลอดเลือดตีบ เลือดไหลเวียนไม่ดี ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ผลที่ตามมาอาจทำให้ เกิดโรคหัวใจขึ้นได้ เปรียบได้กับเราเปิดน้ำแล้วมีบางสิ่งขัดขวาง หรือ อุตตัน ทำให้น้ำไหลไม่สะดวกนั่นเอง 

ในร่างกายของคนเรา มักมีไขมันอยู่ 2 ชนิด ไขมันชนิดดี HDL และไขมันไม่ดี LDL ที่หลายคนคุ้ยเคย ไขมันดี และ ไขมันเลว นั่นเอง ซึ่งกระเทียม สามารถลด คอเลสเตอรอล และ LDL (ไขมันไม่ดี) ในกระแสเลือดของเราได้ค่ะ 

  • กระเทียม สามารถลดคอเลสเตอรอลรวม และ LDL ลงได้ประมาณ 10-15% 
  • LDL (ไม่ดี) และ HDL (ดี) คอเลสเตอรอล กระเทียมสามารถลดไขมันไม่ดี

สรุป กระเทียม สามารถช่วยลด คอเลสเตอรอลรวม และ LDL (ไขมันไม่ดี) ได้จริงค่ะ ในผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง HDL (ไขมันดี) คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ดูเหมือนจะไม่ได้รับผลกระทบอะไร

4. ทานกระเทียม อาจช่วยให้อายุยืนขึ้น

หากจะกล่าวว่า กระเทียม ช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นนั้น อาจเป็นไปไม่ได้ที่จะกล่าวว่า กระเทียมช่วยให้อายุยืนยาวได้จริงๆ แต่กระเทียม สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงให้ลดน้อยลง เช่น ช่วยลดความดันโลหิต เป็นต้น

  • กระเทียม สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อ ก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน เพราะในปัจจุบัน สาเหตุของการตาย ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อที่มักพบบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มักพบในผู้สูงอายุ เพราะระบบภูมิคุ้มกันทีผิดปกติ และทำให้เกิดการติดเชื้อนั่นเอง

สรุป กระเทียม เมื่อเราทราบถึงประโยชน์ และสาเหตุทั่วไปของโรคเรื้อรัง ดังนั้นจึง สมเหตุสมผล ที่กระเทียมจะช่วยให้คุณมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น

5. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์

หลายคนคงทราบกันดีว่า สารต้านอนุมูลอิสระนั้น ช่วยให้ยังคงอ่อนวัย ไม่ทำให้แก่กว่าวัย และยังสามารถ ป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ ขี่หลง ขี้ลืมของเราได้อีกด้วย และในกระเทียมนั้นมีสารตัวนี้

  • สารต้านอนุมูลอิสระ ที่สนับสนุนกลไกการป้องกันของร่างกายต่อความเสียหายที่เกิด จากปฏิกิริยาออกซิเดชัน
  • การทานกระเทียมในปริมาณมากจะช่วย เพิ่มเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในมนุษย์ และยังช่วยลดความเครียด จากปฏิกิริยาออกซิเดชันในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงได้อย่างมาก
  • ลดคอเลสเตอรอล และความดันโลหิต ตลอดจนมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยง เช่น โรคอัลไซเมอร์ และภาวะสมองเสื่อม

 สรุป กระเทียม มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ และริ้วรอย อาจลดความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ และภาวะสมองเสื่อมได้

Cats Coming

6. สามารถลดความดันโลหิตได้

โรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่อาจนำไปสู่โรคเหล่านี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น เกิดภาวะหัวใจวายและโรคหลอดเลือดได้

  • มีการศึกษาบางงานพบว่า การทานกระเทียมสด หรือทานอาหารเสริมกระเทียม มีผลต่อการลดความดันโลหิตสูงได้เป็นอย่างดี
  • สารสกัดกระเทียม 600-1,500 มก. มีประสิทธิภาพเท่ากับยา Atenolol
  • ทานกระเทียม 4 กรีบต่อวัน ในระยะเวลา 24 สัปดาห์ สามารถลดความดันโลหิตได้

สรุป การทานกระเทียม 4 กรีบต่อวัน หรือ สารสกัดของกระเทียมแบบแคปซูป อาจมีประสิทธิภาพเท่ากับ ยาลดความดันโลหิตสูง

7. ช่วยให้กระดูกแข็งแรง

จากการศึกษาหนึ่งในสตรีวัยหมดประจำเดือน พบว่าปริมาณสารสกัดจากกระเทียมแห้งทุกวัน (กระเทียมดิบ 2 กรัม)

  • ช่วยลดของการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • แสดงให้เห็นว่ากระเทียม อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพกระดูกในผู้หญิง อาหารเช่นกระเทียมและหัวหอมอาจมีผลดีต่อโรคข้อเข่าเสื่อม
  • ช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูก
  • ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและโรคข้อเข่าเสื่อมได้

สรุป กระเทียม ดูเหมือนจะมีประโยชน์บางอย่างสำหรับ สุขภาพกระดูกโดยการเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง แต่จำเป็นต้องมีการศึกษาให้มากขึ้น

8. กระเทียม ช่วยป้องกันมะเร็งได้

จากการวิจัยพบว่า การบริโภคกระเทียมสด สามารถช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ได้ เพราะในกระเทียมเต็มไปด้วย สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี หากรู้แล้ว กระเทียมมีประโยชน์ดีจริงๆกับสาวๆ ฉะนั้นควรทาน กระเทียมผัก และผลไม้ด้วยนะคะ

  • ผู้หญิงที่มักทานกระเทียม ผักและผลไม้อย่างสม่ำเสมอ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ลดลง 35% นอกจากนี้
  • กระเทียมมีฤทธิ์ ในการต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็ง 
  • สารสกัดจากกระเทียมสามารถ ลดพิษที่เกิดจากผลข้างเคียงเนื่องจากการใช้ยาต้านมะเร็งได้

สรุป ทานกระเทียมอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ลดลง 35% 

9. ต้านแบคทีเรีย รวมถึงไข้หวัด

กระเทียม สามารถช่วยต้านแบคทีเรียได้ “กระเทียมถูกใช้เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อมาหลายร้อยปีแล้ว เนื่องจากมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย และได้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และมีรายงานว่ามีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อ Salmonella, Escherichia coli, ช่วยลดจำนวนPseudomonas, Staphylococcus aureus, Helicobacter เป็นต้น

จากการศึกษาพบว่า สารสกัดจากกระเทียม มีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ A และ B, rhinovirus, HIV, herpes simplex, viral pneumonia และ rotavirus”  

อีกงานวิจัยพบว่า หากทานกระเทียมติดต่อกันนาน 12 สัปดาห์ ทานทุกวัน

  • ช่วยลดจำนวนโรคหวัดได้ 63%
  • อาการหวัดลดลง 70% จาก 5 วัน
  • ในผู้ที่มีอายุมาก (ทาน 2.56 กรัมต่อวัน) จะช่วยลดจำนวนวันที่ป่วยเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ลง 61%

แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่การเพิ่มกระเทียมลงในเมนูอาหารของคุณก็อาจคุ้มค่า และควรลองทานมัน ถ้าคุณมักเป็นหวัดบ่อยๆ 

สรุป กระเทียมอาจช่วยป้องกัน และลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยของคุณได้ เช่น ไข้หวัด แต่จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม

10. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

มีงานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่า กระเทียมมีฤทธิ์ต้านเบาหวาน เพราะกระเทียมมีสิ่งเหล่านี้

  • มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด (กลูโคส) ในรายที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากงานการวิจัย ได้เปิดเผยผลของการออกฤทธิ์ของอินซูลิน ซึ่งเป็นโฮร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตตับอ่อน ที่ช่วยให้ร่างกายใช้กูลโคสเป็นพลังาน เชื่อว่าเป็นสารประกอบ ของกำมะถัน ในกระเทียมสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยการกระตุ้นอินซูลินในตับ ซึ่งจะช่วยกระตุ้น การหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน และเพิ่มความความไวของอินซูลินนั่นเอง
  • วารสารอาหารทางการแพทย์ กล่าวว่า กระเทียมสามารถคาดหวังเพิ่มการหลั่งอินซูลินและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้”
  • กระเทียม มีประสิทธิภาพมาก ในการเพิ่มปริมาณอินซูลินในร่างกาย คาดว่าจะปรับปรุงความทนทานต่อกลูโคส
  • วารสารเกษตร และเคมีอาหารยังระบุด้วยว่า  กระเทียมอาจปกป้องหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ จำเป็นต้องดองในน้ำผึ้ง
  • การกินในปริมาณมากอีกครั้งอาจทำให้กระเพาะของคุณเสียหายและทำลายระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ของคุณได้เช่นกัน

สรุป กระเทียมสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และปกป้องไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ค่ะ

ผลข้างเคียง และข้อควรระวัง ของกระเทียม

  1. ทำให้มีกลิ่นปาก 
  2. ควรบริโภคกระเทียมในปริมาณที่พอเหมาะ
  3. เมื่อใช้แคปซูลกระเทียมหรืออาหารเสริม อาจรบกวนยาอื่น ๆ ที่คุณใช้ดังนั้นควรระมัดระวัง เช่น สารกันเลือดแข็ง
  4.  ควรหลีกเลี่ยงอาหารเสริมกระเทียมเป็นเวลาสองสัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เนื่องจากการกินกระเทียมมากเกินไปจะทำให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มได้ยาก และเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือด
  5. หากมีข้อกังวลใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

 

ที่มา

www.healthline.com , www.esquire.com

tag กระเทียม

By Cheeiw

ฉันจบการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ เอกสาธารณะสุขศาสตร์ UDRU
ชอบช่วยให้ผู้หญิงให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น ^_^

เช่นเดียวกับผู้หญิงหลายๆ คน ฉันชอบแฟชั่น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เครื่องประดับ และอื่นๆเกี่ยวกับผู้หญิง 😍