5วิธีแก้ปัญหาลูกติดหน้าจอ พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร
การเลี้ยงลูกสมัยนี้ชั่งแตกต่างจากสมัยก่อนจริงๆ เพราะสมัยนี้โลกได้เปลี่ยนไปมาก และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตจริงๆ เด็กเล็กๆรู้จักเล่นโซเชียลมีเดียต่างๆ ทุกครอบครัวจะมีโทรศัพท์มือถือ,ไอแพต,โน๊ตบุค บางครั้งพ่อแม่เหนื่อยจากการทำงาน ลูกงอแงอยากเล่นโทรศัพท์ พอลูกได้เล่นโทรศัพท์ปุ๊บลูกนิ่งเงียบไม่โวยวาย และไม่สนใจอะไรเลย ไม่สนใจสิ่งต่างๆรอบข้าง หากเด็กเล่นมากๆหลายชั่วโมง มีความเสี่ยงต่อสมาธิสั้น และปัญหาตามมาพ่อแม่ควรแก้ไขอย่างไรกับปัญหาเหล่านี้
1.พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดี
หากจะพูดไปแล้วโลกเปลี่ยนไป โชเชียลมีเดียนั้นมีบทบาทสำคัญกับทุกคนจริงๆ นอกจากจะใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารการส่งงานทางเมลล์ หรือบางครั้งอยากเช็คโชเชียลมิเดีย เช่น Facebook,instagram,TikTok เพื่อผ่อนคลาย แต่ในระหว่างที่เราเช็คโทรศัพท์นั้นลูกน้อยจะมักอยู่ข้างๆเสมอ และอยากรู้อยากเห็นสิ่งที่เรากำลังดู เพราะเขาคือวัยกำลังเรียนรู้ บางครอบครัวลูกไม่ยอมกินข้าวและเปิด YouTube หาเพลงสนุกๆ หลอกล้อให้ลูกกินข้าว ทำให้ลูกสนใจมากขึ้น ความจริงแล้วไม่ดีนะค่ะ หากจะกินข้าวต้องเปิดโทรศัพท์ จะทำให้ลูกเรียนรู้ต้องเปิดโทรศัพท์เสมอ หากจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็นพ่อกับแม่ควรเป็นแบบอย่างให้แก่ลูก ไม่ควรจับโทรศัพท์ให้ลูกเห็นบ่อยๆ ควรเช็คโชเชียวมีเดียเมื่อลูกหลับ หรือ หากต้องใช้โทรศัพท์จริงๆเวลาตอบเมลล์ ตอบไลน์ หรือสื่อต่างๆควรให้ลูกหลับแล้วหรืออาจคุยงานในห้องน้ำเพื่อไม่ให้ลูกเห็น ให้เขาได้เรียนรู้ว่าพ่อกับแม่ไม่ได้สนใจโทรศัพท์มือถือเช่นกัน
2.วันละไม่เกิน 1 ชั่วโมง
ความเป็นจริงผู้ปกครองควรให้ลูกดูได้แต่ไม่นาน ไม่ควรเกินวันละ 1 ชั่วโมงพอ หรือให้ดูสัปดาห์ละ 1 ครั้งพร้อมกันกับผู้ปกครองในวันหยุดสุดสัปดาห์ครั้งละ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
3.ให้เวลาลูกทำกิจกรรมร่วมกัน
พ่อแม่ควรมีเวลาให้กับลูก หากิจกรรมทำร่วมกับลูกน้อย เด็กติดหน้าจอมากเกินไปไม่ดี ไม่ควรให้ลูกสนใจแต่โทรศัพท์ ทำกิจกรรมร่วมกับเขา เพราะเด็กคือผ้าขาว ผู้ใหญ่ทำอะไรเด็กมักจะเรียนรู้ด้วยเสมอ
- ออกไปวิ่งเล่นสวนสาธารณะ เด็กต้องการวิ่งเล่น สูดอากาศบริสุทธิ์ การที่อยู่แต่ห้องเด็กไม่มีอะไรทำจะสนใจแต่โทรศัพท์มากขึ้น
- วาดภาพระบายสี เป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ช่วยฝึกกล้ามเนื้อให้ลูกและทำร่วมกับผู้ปกครอง
- อ่านหนังสือก่อนนอน แทนการจับโทรศัทพ์ เล่านิทานสนุกๆก่อนเข้านอน
- ปล่อยให้ลูกได้เล่นสนุกๆตามวัยเขา วัยกำลังเรียนรู้ไม่ใครใช้สายตาหน้าจอเกินไป
- กิจกรรมร้องเพลง เป็นกิจกรรมที่สนุกและผ่อนคลายช่วยให้ลูกน้อยได้เรียนรู้ภาษา หรือ เล่นเกมสนุกๆกับลูก
4.คนในครอบครัวปฎิบัติทางเดียวกัน
ต้องเข้าใจก่อนว่า ครอบครัวคนไทยส่วนมากเป็นครอบครัวใหญ่ ส่วนมากอาศัยอยู่ด้วยกันหลายคน เช่นพ่อ,แม่,พี่,น้อง,ลง,ป้า,น้าอา และมีคุณตาคุณยายด้วย หากเป็นเช่นนี้เราจะไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา ลูกอาจจะไปกับหลายๆคน เราสั่งห้ามไม่ให้ลูกดูไอแพต หรือ โทรศัพท์ แต่ลูกแอบเอาโทรศัพท์ให้คุณปู่คุณย่าเปิดให้ ทุกๆคนในครอบครัวควรทำความเข้าใจให้ตรงกัน วันนี้แม่สั่งห้ามลูกเล่นโทรศัพท์เป็น1สัปดาห์ เพื่อลงโทษเพราะลูกดูโทรศัพท์หรือไอแพตมากเกินไปและงอแงร้องไห้ ไม่สนใจคนรอบข้าง ทุกคนจะต้องปฎิบัติกับเด็กเช่นกัน เด็กจะเรียนรู้และเข้าใจว่าเขาไม่สามารถเปิดดูโทรศัพท์หรือ ไอแพตได้ และไม่มีใครเปิดให้เพราะทุกคนปฎิบัติในทางเดียวกัน
5.พ่อแม่ต้องใจแข็งและทำข้อตกลง
พ่อแม่ส่วนใหญ่มักตามใจลูกๆยิ่งลูกคนเดียวจะตามใจมากบางครั้งลูกงอแงอยากดูโทรศัพท์และบอกไม่ให้ลูกดูลูกเห็นแววตาออนวอนก็ใจอ่อนแล้ว หากลูกอยากดูจริงๆก่อนที่จะดูควรทำข้อตกลงกันว่าไม่เกิน1ชั่วโมงแต่บางครั้งใจดีอาจละเลยเห็นลูกกำลังสนุกไม่อยากขัดใจ พ่อแม่ต้องใจเเข็ง
- หากเราบอกว่าลูกหมดเวลาแล้วค่ะหากลูกไม่สนใจควรปิดโทรศัพท์
- ฝึกให้เขาเข้าใจและเรียนรู้เมื่อหมดเวลาปิดแลคืนโทรศัพท์
- บอกเขาว่าหากเขาไม่ยอมคืนโทรศัพท์และไม่เชื่อฟังเขาจะไม่ได้ดูอีก 1 สัปดาห์
- หากเด็กร้องไห้งอแงคุณพ่อคุณแม่ควรใจแข็งเพื่อลูกจะได้เรียนรู้เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้เขาจะเปิดเองและส่งให้กับพ่อแม่ และจะเป็นเด็กที่น่ารักที่รู้จักตรงต่อเวลาทำตามกฏที่ตกลงกันไว้