CutieGirl

9 อาหารที่แย่สำหรับผู้หญิง

 

Tim Samuel

ทุกคนย่อมรู้ดีว่าการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นั่นจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก หลายคนอาจยุ่งกับการทำงาน ไม่มีเวลา ทานอาหารที่ไม่เพียงพอต่อร่างกายที่ต้องการ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ มีโรคภัยต่างๆตามมา และอาหารในปัจจุบันแตกต่างจากอดีตไปอย่างมาก เชื่อว่าหลายๆคนคงไม่อยากเจ็บป่วย อยากมีสุขภาพที่ดีกันทั้งนั้น แต่การเลือกทานอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าอาหารทั้งหมดที่คุณทานจะได้รับการส่งเสริมให้เป็นอาหารที่สมดุลให้แก่ร่างกาย แต่ก็มีอาหารบางชนิดที่ผู้หญิงอย่างเราควรจำกัด และหลีกเลี่ยงอาหารที่เลวร้ายที่สุดสำหรับผู้หญิง (เฉพาะในวัยเจริญพันธุ์ ขณะตั้งครรภ์ หรือวัยหมดระดู) สามารถรับประกันความปลอดภัยสำหรับทั้งแม่และทารก ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมสุขภาพโดยรวม ไปดูกันค่ะ  9 อาหารที่แย่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพสำหรับผู้หญิง (วัยเจริญพันธุ์ ตั้งครรภ์ วัยหมดระดู)

9 อาหารที่แย่ที่สุดสำหรับผู้หญิง (วัยเจริญพันธุ์ ตั้งครรภ์ วัยหมดระดู)

1. ไดเอทโซดา

ไดเอทโซดา มันคืออะไรนะ? มันคือตัวให้ความหวานแทนน้ำตาลนั่นเอง อาจดูเหมือนเป็นทางเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มากกว่าโซดาทั่วไป แต่สารให้ความหวานเทียมก็สร้างความกังวลอย่างมากเช่นกัน ในความเป็นจริง การวิจัยบ่งชี้ว่าการบริโภค ไดเอทโซดา อาจช่วยให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ด้วยซ้ำ! ความดันโลหิตและโรคเบาหวานตามมาอีกด้วย

2. มาการีน

เนย โดยทั่วไปจะถูกมองว่าเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ  แต่มาการีน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไขมันทรานส์ ไขมันทรานส์คือกรดไขมันที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยจะไปเพิ่มไขมันไม่ดีในเลือด (LDL)และลดไขมันที่ดี (HDL )ในเลือด เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดอีกด้วย

เชื่อมโยงกับสภาวะสุขภาพมากมาย ในปี 2018 เป็นปีที่ถูกกำหนดให้เลิกผลิตอาหาร! ที่มีส่วนผสมของมาการีน ฉะนั้นก่อนจะทานอะไรโปรดพิจาราณาส่วนผสม เช่น โดนัท คุกกี้ เค้ก และขนมสะดวกซื้ออื่นๆ ที่บรรจุไว้ล่วงหน้า เช็คก่อนสักนิดว่ามีส่วนผสมของสิ่งเหล่านี้ไหม เพื่อสุขภาพของคุณ

3. ซูชิ

ทานชูชิเป็นอาหารที่หลายคนโปรดปราน แต่ ! ทานซูชิดิบอาจสร้างความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ของการเจ็บป่วยจากอาหารทะเล ซูชิที่ปรุงด้วยปลาอาจมีสารมีปรอทปนเปื้อนอยู่ เช่น ปลากระโทงดาบ ปลาฉลาม ปลาแมคเคอเรล  และยังเป็นเรื่องที่น่าห่วงอย่างยิ่งในสตรีมีครรภ์ เนื่องจากสารปรอทมีความเชื่อมโยงกับพัฒนาการล่าช้า และความเสียหายของสมองต่อทารกในครรภ์นั่นเอง

4. ไข่ดิบ

การทานไข่นั้นมีประโยชน์กับทุกคน หลายคนคงทราบแล้วเมื่อมีอายุมากขึ้น ควรบริโภคไข่แดงให้น้อยลง หลายคนอาจยังไม่ทราบ ไข่ดิบอาจมาในรูปแบบเหล่านี้ เช่น มายองเนส ไอศกรีมโฮมเมดและคัสตาร์ด และซอสฮอลแลนเดส เป็นต้น และยังเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของเชื้อ Salmonella แหล่งที่มาของไข่ดิบปลอมนั่นเอง

5. นม และชีสที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

คนที่ชอบทานนม บอกเลยขาดนมไม่ได้ ! ต้องมีนมไว้ติดตู้เย็นตลอด เพราะนมมีแคลเซียมที่ดีต่อสุขภาพ แต่นมและชีสที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ที่ผลิตขึ้น ก็อาจมีส่วนผสมของ (Listeriosis) หรือโรคลิสเทริโอซิส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียลิสเทอเรีย เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่ได้ปรุงสุกหรือไม่ได้ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อโรคที่สะอาดเพียงพอนั่นเอง

และชีสที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ (ซอฟต์ชีส)ที่นำเข้าและรวมถึงบรี เฟต้า และเควโซ  เป็นต้น

Andres Ayrton

6. ผักและผลไม้ที่ยังไม่ได้ล้าง

ผักและผลไม้ที่ไม่ได้ล้าง อันตรายนะบอกเลย หากเราซื้อผักละผลไม้จากตลาดแล้วยังไม่ล้าง ไม่ควรทานเลยทันที เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าล้างน้ำหรือยัง การไม่ล้างผักและผลไม้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งในสตรีมีครรภ์ อย่างไรก็ตาม ผักและผลไม้ที่ล้างแล้ว ถือว่าปลอดภัย โดยพิจารณาจากข้อมูลด้านสุขภาพที่สำคัญ ความจริงแล้ว ผักตระกูลกะหล่ำ (บรอกโคลี กะหล่ำดอก เป็นต้น) เพื่อลดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่รุนแรงขึ้นในสตรีวัยหมดประจำเดือน ฉะนั้นก่อนจะทานอะไรควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนนะคะ

7. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย แต่สำหรับสตรีมีครรภ์และวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับคำเตือนอย่างปลอดภัย คำแนะนำทั่วไปแนะนำว่าไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวันในระหว่างตั้งครรภ์ ในขณะที่การลดปริมาณคาเฟอีนในสตรีวัยหมดประจำเดือนด้วย สามารถช่วยลดโอกาส หรือความรุนแรงของอาการร้อนวูบวาบได้นั่นเอง นอกจากนี้ควรระวังน้ำตาล น้ำเชื่อม และครีมที่กาแฟที่คุณมักเติมลงในแก้วโปรดของคุณใส่เข้าไปด้วย!

8. แอลกอฮอล์

ความจริงผู้หญิงควรจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ไว้ที่วันละ 1 แก้ว โดยไม่มีการระบุปริมาณที่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ แม้ว่าปัจจัยหลายอย่างอาจขัดขวางพัฒนาการของทารกในครรภ์ แต่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจนำไปสู่กลุ่มอาการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในครรภ์และก่อให้เกิดผลที่เป็นอันตรายแต่ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ แอลกอฮอล์ไม่ควรดื่มระหว่างให้นมบุตรอีด้วย

และสามารถลดความเสี่ยงของอาการร้อนวูบวาบ ในสตรีวัยหมดประจำเดือนเมื่อจำกัดหรือหลีกเลี่ยง และโดยรวมแล้ว การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะสามารถลดความเสี่ยงของการเพิ่มน้ำหนักและโรคเรื้อรัง รวมถึงมะเร็งหลายชนิดเช่นกัน

9. น้ำตาล

สายหวานทั้งหลายโปรดอ่าน American Heart Association ผู้หญิงควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 25 กรัมในแต่ละวัน หรือไม่เกิน 6 ช้อนชา ตัวอย่างเช่น Coca-Cola หนึ่งกระป๋องขนาด 12 ออนซ์ให้น้ำตาล 39 กรัม! ซึ่งก็เกินแล้ว

และหลายคนที่ชอบทานหวานเติมน้ำตาลบ่อยครั้ง ลองคิดดูทำไมคนเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น หรือบางคนอาจไม่ทราบว่าผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายชนิด รวมถึงแหล่งที่มาที่ซ่อนอยู่ เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำสลัด และกราโนลาบาร์  ซึ่งมีน้ำตาลปนอยู่นั่นเอง

 

 

About the Author

Cheeiw

ฉันจบการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ เอกสาธารณะสุขศาสตร์ UDRU
ชอบช่วยให้ผู้หญิงให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น ^_^

เช่นเดียวกับผู้หญิงหลายๆ คน ฉันชอบแฟชั่น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เครื่องประดับ และอื่นๆเกี่ยวกับผู้หญิง 😍

Tags: Bad Food