เด็กในช่วง 2 – 6 ขวบ ยังไม่สามารถแยกแยะ อะไรจริง ไม่จริงหรือ อาจมีปัญหาอื่นๆร่วมด้วยเช่น ซึมเศร้า สมาธิสั้น วิตกกังวล และมองตัวเองในแง่ลบ การมีทัศนคติที่แย่กับตัวเอง จึงเลือกที่จะโกหก เพื่อให้ผู้ปกครองสบายใจ ไม่มีความโกรธ ไม่ดุด่าเด็ก
5 สาเหตุที่เด็ก “ชอบโกหก” พร้อมวิธีหยุดการโกหก ให้ได้ผล
เชื่อว่าหลายๆคนมักไม่ชอบ “การโกหก” เพราะเป็นสิ่งไม่ดี เหมือนไม่มีความซื่อสัตย์ แต่เชื่อว่าในเด็ก และผู้ใหญ่ บางครั้งอาจเคยโกหกเพื่อความสบายใจของอีกฝ่าย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยๆครั้ง นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนที่ไม่ดี การโกหกบ่อยๆครั้ง อาจพบปัญหาใหญ่ตามมา หากลูกโกหกพ่อแม่บ่อยครั้ง คุณอาจไม่เชื่อในคำพูดของลูกต่อไป ผู้ปกครองควรแก้ไข ให้เวลากับลูก ให้ความรักความเอาใจใส่ สอนลูกว่าการโกหกนั้นไม่ดีมากๆ ให้ความสำคัญกับความเป็นจริง วันนี้เรามาทำความเข้าใจในสาเหตุ ทำไมลูกถึงโกหก มีสามเหตุเกิดจากอะไรบ้าง มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง เพื่ออนาคตลูกจะเป็นคนที่ไม่โกหก
ทำไมเด็กบางคนชอบพูดโกหก
1.หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
เด็กอาจโกหกเพื่อแก้ไขปัญหา ตามความคาดหวัง และต้องการทำในสิ่งที่เขาต้องการ ตัวอย่างเช่น อ้างว่าจะเข้าห้องน้ำ เพื่อไม่อยากทำงานบ้านช่วยแม่ เด็กหลายคนเกิดข้ออ้างขึ้น หรือ โกหกว่า แม่หนูทำการบ้านเสร็จแล้ว เพื่อจะได้ไปวิ่งเล่นกับเพื่อน โกหกเพื่อเอาตัวรอดในสถานการณ์นั้น แต่สิ่งที่เขาโกหกเมื่อความจริงปรากฏ เขาจะโกหกไม่สำเร็จ หรือ การโกหกว่ายุ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อละเลยต่อหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ
2. เกิดจากโรค (ADHD) สมาธิสั้น
หลายคนอาจยังไม่ทราบ คิดว่าเด็กชอบโกหกบ่อยๆ แต่ในบางครั้งเด็กอาจเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เพราะเด็กมักชอบขี้หลงขี้ลืม ชอบวิ่งหนหันพลันแล่น ทำบางงานที่ได้รับมอบหมายไม่เรียบร้อย ตัวอย่างเช่น คุณอาจบอกให้ลูกเก็บที่นอนในตอนเช้า หรือ เมื่อลูกกินข้าวเสร็จให้เก็บจานไปวางไว้ที่ซิ้งล้างจานให้เรียบร้อย เมื่อผู้ปกครองถามลูกมักจะบอกว่า แม่ไม่ได้สั่งให้ทำสิ่งนั้น หรือในความเป็นจริงเขาลืมทำสิ่งนั้นไปแล้วและเถียงอย่าดื้อรั้นว่าไม่ได้ทำผิดอะไร ควรพิจาราณาว่าหากลูกโกหกบ่อยๆอาจเกิดจากโรคสมาธิสั้นด้วย
3.กลัวการลงโทษ
เมื่อเด็กค้นพบว่า การพูดความจริงกลับโดนลงโทษ เช่น การโดนทำร้ายร่างกาย โดนตี เด็กจึงเลือกปกปิดความจริง พูดโกหก เพราะเด็กคิดว่า พูดความจริงกลับโดนลงโทษ และเจ็บตัว ไม่อยากโดนทำโทษ
4.เพื่อให้คนอื่นสนใจในตัวเขา
เด็กบางคนอาจเบื่อ อยากให้คนอื่นสนใจ ใส่ใจในตัวเขา จึงเรียกร้องความสนใจ เช่น แม่ให้ความสนใจน้องจนเกินไป จึงโกหกว่าล้ม เจ็บขางอแงไม่อยากเดิน เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ปกครอง
5.เพื่อได้รับการยอมรับ
เด็กบางคนอยากเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน เช่น โกหกเพื่อนว่าที่บ้านมีของเล่นมากมาย เพื่อเป็นที่ยอมรับ และไม่รู้สึกด้อยค่า
วิธีการรับมือ และ หยุดการโกหก
1.ตั้งกฏขึ้นมาในครอบครัว
การตั้งกฎขึ้นมาในครอบครัว ให้เห็นถึงความสำคัญว่า การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าแก่ความเป็นจริง พูดคุยถึงเหตุผลว่าทำไม ครอบครัวถึงไม่ชอบการโกหก อธิบายถึงเหตุผลต่างๆ อธิบายถึงผลเสียที่จะตามมา สิ่งที่ครอบครัวคาดหวังคือความจริงใจ ให้แก่ครอบครัว หากโดนจับได้ว่าใครคนใดคนหนึ่งโกหกบ่อยครั้ง จะไม่มีใครเชื่อถือในคำพูดคุณอีกต่อไป
พูดคุยกับลูกๆของคุณเกี่ยวกับการโกหก อธิบายว่าความไม่ซื่อสัตย์จะทำให้พ่อและแม่เชื่อในครั้งต่อไปได้ยาก แม้ว่าลูกๆจะพูดความจริงก็ตาม และเพื่อน คนอื่นๆรอบข้างก็ไม่ค่อยชอบ หรือไว้ใจคนที่รู้ว่าโกหกอีกต่อไป
2.เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก
อยากให้ลูกเป็นเด็กดี ไม่โกหก พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น เพราะเด็กคือวัยที่กำลังเรียนรู้ หากครอบครัวเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่ลูกๆ พวกเขาจะเลียนแบบคุณ และคิดว่าการโกหกนั้นเป็นเรื่องที่ปกติสำหรับเขา จงให้ความสำคัญแก่เรื่องนี้
3.ให้คำเตือนกับลูกๆ
หากคุณรู้ความจริงแล้วว่าลูกๆของคุณโกหก คุณควรเตือนเด็กๆ เช่น แม่ให้ลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากไอแพต แต่ลูกแอบเปิดดูอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนรู้เมื่อแม่สอบถามลูกๆ ลูกกับโกหก เมื่อแม่มั่นใจแล้วว่าลูกโกหกเพราะลูกตอบอะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้นไม่ได้เลย และเขายอมรับว่าโกหก แม่ควรพูดด้วยน้ำเสียงใจเย็น แม่รู้แล้วว่าลูกโกหก แต่นี่เป็นครั้งแรก แม่จะให้โอกาสแก้ตัว หากลูกโกหกครั้งต่อไปอีก แม่จะหยุดให้ลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากไอแพต เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพราะผลจากความไม่ซื่อสัตย์ของคุณ นี่คือผลลัพท์ที่ตามมา ไม่ควรตำหนิ ตวาด ให้ลูกรู้สึกไม่สบายใจ แต่ควรพูดตักเเตือนด้วยความเข้าอกเข้าใจ หวังดีกับเขา
4.การลงโทษ
หากลูกมักโกหกบ่อยครั้ง นี่คือสัญญาณที่ไม่ดี ควรมีบทลงโทษ เพื่อให้ลูกๆได้รู้ถึงผลจากการโกหก เช่น ลูกโกหกว่ากินข้าวเสร็จแล้ว และรีบเปิดดูการ์ตูน ควรสอนให้ลูกกินข้าวให้เสร็จ ทำหน้าที่ของตัวเองให้เสร็จก่อน แล้วค่อยดูการ์ตูน หากลูกโกหกไม่ปฎิบัติตาม และจะมีบทลงโทษโดยการยึดไอแพต หรือ ไม่มีน้ำส้ม ผลไม้ หลังทานข้าวเสร็จ แต่ก่อนจะลงโทษควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า มียุติธรรมและเหมาะสมหรือไม่ หากพวกเขาไม่ได้ทำผิดจริงๆ เด็กๆจะรู้สึกว่า พ่อแม่จ้องแต่จับผิดพวกเขาจนเกินไป
5.เน้นย่ำความซื่อสัตย์
แม่รู้ว่าการยอมรับความจริงเป็นเรื่องที่ยาก แต่หากลูกพูดความจริง “พ่อแม่จะดีใจมากที่ลูกกล้าที่จะยอมรับ” และพูดความจริงออกมา สนับสนุนลูกๆในเชิงบวก เสริมสร้างพลังบวก
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเมื่อลูกโกหก
- ไม่โมโหง่าย ไม่ใช้อารณ์คุยกับลูก พูดด้วยน้ำเสียงปกติ
- พูดคุยกับลูกเมื่อไม่มีคน ไม่ดุด่าลูกต่อหน้าคนอื่น ไม่ทำให้ลูกรู้สึกอับอาย
- รับฟังเหตุผลของลูกก่อน เขามีเหตุผลอะไรถึงทำสิ่งนั้น
- สอนถึงผลที่ตามมาหากลูกชอบโกหก
- ให้โอกาสลูก เชื่อมั่นในตัวลูกของคุณ สร้างพลังบวก