CutieGirl

7 วิธีรับมือ “ลูกโดนบลูลี่ ” ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น

 

RDNE Stock project

ในปัจจุบัน การบูลลี่ในไทยแท้จริงแล้วมีมานานแล้ว โดยการกลั่นแกล้ง การบลูลี่ มักเกิดขึ้นที่โรงเรียนเป็นส่วนมาก ในสังคมไทยมักมองว่า เรื่องบูลลี่ กลั่นแกล้งกัน เป็นเรื่องของเด็กๆ เรื่องที่ปกติธรรมดา เด็กพูดล้อเล่นกัน ก็ปล่อยผ่านไป แต่ในความจริงเด็กเกิดความเครียด เด็กไม่ชอบการถูกล้อเลียน และรู้สึกอับอาย หากไม่แก้ไข ช่วยกันหาทางออก อาจเกิดปัญหาใหญ่ตามมา การปะทะ ความรุนแรง หรือซึมเศร้าได้

มูลนิธิเครือข่ายครอบครัวให้ข้อมูลว่า พฤติกรรมการกลั่นแกล้ง หรือบูลลี่ (Bully) ประเทศไทยติดอันดับ 2 ของโลกในปี พ.ศ. 2563 รองจากประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะพบจะในเด็ก ไปจนถึงเยาวชน พบมากในช่วงอายุ 10-15ปี 91%เคยโดนบลูลี่ที่โรงเรียน ซึ่งเป็นข้อมูลน่าห่วงมาก

โดยผู้กระทำรู้สึกสนุก รู้สึกสะใจ เมื่อผู้ถูกกระทำถูกกลั่นแกล้ง เกิดความสะสมเป็นเวลานาน อาจจะสร้างบาดแผลในใจ รู้สึกมีปมด้อย จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ ยิ่งในเด็กเล็ก เด็กบางคนอาจมีอาการซึมเศร้า ไม่อยากไปโรงเรียนอีกต่อไป รู้สึกหวาดกลัว บางรายอาจถึงขั้นคิดสั้น ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตุพฤติกรรม และสอบถามพูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกมีความรู้สึกปลอดภัย และอยากเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และช่วยแก้ปัญหาให้ทันเวลา

การบลูลี่ (Bullying) หมายถึง การกลั่นแกล้ง การจงใจ ที่เกิดจากความตั้งใจทำให้ผู้อื่นรู้สึกอับอาย ผ่านคำพูด ทางกาย ทางสังคม ผู้กระทำเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง ทำให้คนอื่น เจ็บปวด ทั้งร่างกาย และจิตใจแบ่งได้ดังนี้

1. ทางวาจา : พูดจาล้อเลียน และข่มขู่

พูดจาเยาะเย้ย พูดบลูลี่รูปร่างหน้าตา ล้อเลียนสีผิว ล้อเลียนปมด้อยของคนอื่น ใช้คำเรียกชื่อที่ผู้โดนแกล้งไม่ชอบ ล้อชื่อพ่อแม่ ทำให้เสียความรู้สึก ทำให้รู้สึกเจ็บปวด หวาดกลัว รู้สึกป่วย รู้สึกเหงา โดดเดียว อับอายต่อหน้าคนอื่น และเศร้า ร้องไห้ในที่สุด

2. ทางร่างกาย : ตบหัว เตะ หรือผลักทำร้ายผู้อื่น

การผลักไหล่อย่างรุนแรง การตบหัว ตี การชกต่อย ทำร้ายร่างกาย หรือข่มขู่ทำให้กลัว ด้วยพฤติกรรมทำลายข้าวของ กรีดสมุด กรีดกระเป๋า การทำลายข้าวของผู้อื่นให้เกิดเสียหาย

3. ทางสังคม : พูดจาให้ร้าย 

จงใจกดดันให้ออกจากกลุ่ม พูดจานินทา และไม่ให้เข้ากลุ่ม คนรังแกอาจพูดให้ร้าย พยายามทำให้พวกเขาทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ หรือการตัดความสัมพันธ์ กีดกันไม่ให้ใครคบค้าสมาคมด้วย ทำให้รู้สึกว่าไม่มีใครคบ รูสึกโดดเดี่ยว

การกลั่นแกล้ง บลูลี่เป็นเรื่องใหญ่

  • การรังแกกัน

เชื่อว่าผู้ปกครองคงทราบดี ที่โรงเรียนมีเด็กมากมาย การรังแกกันที่โรงเรียนจึงมักพบขึ้นได้ การรังแกกันเป็นปัญหาใหญ่ ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กจำนวนมากมาย เด็กส่วนใหญ่บอกว่าพวกเขาถูกรังแก หรือถูกกลั่นแกล้ง การถูกรังแกอาจทำให้เด็กๆ รู้สึกแย่ ความเครียดที่ต้องรับมือกับมัน และเกิดความสะสมความเครียดไปจนถึงวัยรุ่นได้ อาจทำให้พวกเขารู้สึกไม่สบายจิตใจบอบช้ำ

  • การถูกรังแก

การถูกรังแก อาจทำให้เด็กไม่อยากไปเล่นนอกบ้าน ไม่อยากไปเล่นกับเพื่อน หรือแม้แต่ไปโรงเรียน เป็นเรื่องยากที่จะจดจ่ออยู่กับการบ้าน เมื่อคุณกังวลว่าคุณจะรับมือกับคนที่ชอบกลั่นแกล้งเพื่อน เกิดความกังวัลว่าจะรับมืออย่างไร ? เมื่อต้องไปโรงเรียน และพบเจอคนที่ชอบแกล้ง บลูลี่

  • การถูกรังแก รบกวนจิตใจทุกคน

การถูกรังแก ไม่ใช่แค่เด็กที่ถูกรังแก การกลั่นแกล้งอาจทำให้โรงเรียนกลายเป็นสถานที่แห่งความหวาดกลัว หวาดระแวง และอาจนำไปสู่ความรุนแรง และเพิ่มความเครียดมากขึ้นสำหรับทุกคน

ทำไมบางคนชอบแกล้ง หรือบลูลี่คนอื่น ?

  • ชอบแกล้งคนอื่น เพราะคิดว่ามีอำนาจ มีพลังเหนือคนอื่น

พวกเขาอาจเลือกเด็กที่อารมณ์เสียง่าย โกรธง่าย เด็กที่อ่อนแอ เด็กที่มีบาดแผลในใจ ไม่คิดสู้ ไม่สามารถตอบโต้เขาได้ หรือมีปัญหาในการต่อสู้เพื่อตัวเอง การได้รับปฏิกิริยาตอบโต้ยิ่งใหญ่จากใครบางคน อาจทำให้ผู้รังแกรู้สึกว่า พวกเขามีพลังที่พวกเขาต้องการ มีอำนาจกว่าคนอื่นๆ บางครั้งเขาจะเลือกคนที่ฉลาดกว่า หรือแตกต่างจากพวกเขาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง บางครั้งเด็กที่ชอบแกล้งคนอื่น ก็เลือกเด็กโดยไม่มีเหตุผลเลย

  • บางคนชอบแกล้งคนอื่น อยากให้คนสนใจ

พวกเขาอาจคิดว่าการกลั่นแกล้ง การบลูลี่ เป็นวิธีที่จะทำให้เป็นที่สนใจของคนอื่น ๆ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่พวกเขาต้องการ แกล้งเพื่อนไม่ให้ไปเล่นกับเพื่อนอีกคน อยากให้ทุกคนสนใจในตัวเขา ส่วนใหญ่พยายามทำให้ตัวเองรู้สึกมีความสำคัญมากขึ้น เมื่อพวกเขาเลือกคนอื่น มันจะทำให้พวกเขารู้สึกยิ่งใหญ่ และมีอำนาจนั่นเอง

  • บางคนมาจากครอบครัวที่ชอบความรุนแรง และชอบด่าคำหยาบคายที่รุนแรง

พวกเขาอาจคิดว่าการโกรธ ด่าทอ ชอบทำร้ายคนอื่น และผลักคนรอบข้างเป็นการกระทำปกติ คนรังแกบางคนกำลังคัดลอก เลียนแบบสิ่งที่พวกเขาเคยเห็นคนอื่นทำ บางคนถูกคนอื่นรังแกมาก่อน

  • บางคนอาจไม่รู้ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังทำ หรือพูดนั้นทำร้ายคนอื่น

ผู้ที่ชอบรังแก บลูลี่คนอื่น ๆ อาจไม่รู้จริง ๆ ว่าการกระทำของพวกเขานั้นสร้างความเจ็บปวดเพียงใดให้กับคนอื่นที่มีบาดแผล อาจทำไปเพราะความสนุก ไม่ได้คิดอะไรมาก แต่ผู้ถูกกระทำอาจมีปมด้อยในใจ คนที่รังแกคนอื่น ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ หรือสนใจความรู้สึกของผู้อื่นมากนักหรอกนะ

Mikhail Nilov

7 วิธีรับมือ“ลูกโดนบลูลี่”ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น

ตอนนี้ผู้ปกครองคงทราบกันแล้วว่า การถูกรังแกเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจเด็กจำนวนมาก แต่ผู้ปกครองจะทำอย่างไร หากมีคนรังแกลูกหลานของท่าน

1. หลีกเลี่ยงคนที่บลูลี่ กลั่นแกล้ง

อย่าให้โอกาสเขาแกล้งอีก หลีกเลี่ยงและไม่ให้ความสำคัญให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เด็กไม่สามารถซ่อนตัว หรือโดดเรียนได้แน่นอน แต่ถ้าเด็กสามารถใช้เส้นทางอื่น และหลีกเลี่ยงเด็กใจร้ายได้ ก็ทำเช่นนั้น

2. อย่าตอบโต้กลับ เงียบเฉย 

การเงียบเฉย ไม่ไม่ตอบโต้ ไม่เตะ การต่อสู้กลับทำให้ผู้รังแกพึงพอใจ และมันก็อันตรายเช่นกัน เพราะอาจมีคนบาดเจ็บได้ เด็กยังมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหา ดีที่สุดที่จะอยู่กับผู้อื่น อยู่อย่างปลอดภัย ควรรีบขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ หรือบอกคุณครูประจำชั้น

3. ยืนหยัด และจงกล้าหาญ

เด็กที่ถูกแกล้ง และโดนบลูลี่บ่อยๆ อาจไม่รู้สึกกล้าหาญ แต่บางครั้งแค่แสดงความกล้า ก็เพียงพอแล้วที่จะหยุดคนที่ชอบแกล้งบลูลี่เด็ก

เช่น “อย่ามายุ่งกับเรา” ด้วยน้ำเสียงที่ทรงพลัง จากนั้นเดินออกไป หรือวิ่งหนีหากจำเป็น

4. มีเพื่อนดี ที่พร้อมจะปกป้อง และสู้ไปด้วยกัน

สองย่อมดีกว่าหนึ่งอยู่แล้วใช่ไหมละคะ ถ้าเด็กพยายามหลีกเลี่ยงการถูกรังแก การถูกบลูลี่ เดินไปกับเพื่อน หรือสองคนระหว่างทางไปโรงเรียน พักเที่ยง หรือทุกที่ที่คุณคิดว่าคุณอาจเจอคนที่ชอบแกล้ง เมื่อเด็กกำลังถูกรังแก เพื่อนอาจช่วยได้ เช่น รีบวิ่งไปบอกผู้ใหญ่ บอกครู ยืนหยัดเพื่อเพื่อนที่ถูกรังแก และบอกให้หยุดรังแกเขาซะ

5. เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมใหม่ ตัดขาดคนที่บลูลี่

หากเจอคนที่ชอบบลูลี่ชอบรังแก ให้อยู่ห่างและไม่สนใจ ตัดขาดทุกช่องทางไปเลย อยู่ใครอยู่มัน คบเพื่อนที่ดีคอยช่วยเหลือ ซับพอตซึ่งกันและกัน แน่นอนว่าเด็กที่โดนรังแกจากการบลูลี่ อาจเกิดบาดแผลในใจ บอกเด็ก ๆ ให้เห็นคุณค่าของตัวเอง ไม่เก็บเอามาใส่ใจ มองเห็นคุณค่าในตัวเองให้มากขึ้น ทุกคนไม่มีใครสมบูรณ์แบบ แต่ของให้รักตัวเอง ให้กำลังใจ

หากเด็กทนไม่ไหวจริงๆ ให้ผู้ปกครองเปลี่ยนโรงเรียนใหม่ไปเลย เพื่อสุขภาพจิตใจที่ดีของเด็ก เพราะปัญหาเหล่านี้อาจเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้

 6. บอกผู้ปกครอง หรือครูที่โรงเรียน

หากลูกรักถูกรังแก สิ่งสำคัญคือต้องบอกผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง หาคนที่คุณไว้ใจ และพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็ก ผู้ปกครอง ครู ที่โรงเรียนสามารถช่วยหยุดการรังแกกันได้ บางครั้ง…การรังแกก็หยุดทันทีที่ครูรู้…เพราะกลัวจะถูกพ่อแม่ลงโทษ เพราะการกลั่นแกล้งเป็นสิ่งที่ผิด

การที่เด็กได้แจ้ผู้ปกครอง ครูที่โรงเรียน อย่างน้อยได้ระบาย ได้พูดคุยกับใครสักคน สามารถช่วยให้สบายใจขึ้น จะทำให้รู้สึกเด็กรู้สึกปลอดภัย อบอุ่นใจว่ายังมีคนเคียง เด็กรู้สึกได้ถึง Safe Zone แต่ถ้าหากผู้ปกครองไม่สบายใจ สามารถโทรบริการสายด่วน 1323 สุขภาพจิต 24 ชัวโมง

7. สามารถแจ้งความดำเนินคดี

การที่เด็กโดนบลูลี่ทุก ๆ วัน นั้นทำร้ายจิตใจเด็กเป็นอย่างมาก เด็กก็เหมือนผ้าขาวบางบริสุทธิ์  ต้องเรียนรู้อะไรอีกมากมาย แต่ถ้าหากการบลูลี่ไม่ได้มีแค่การพูดจาก แต่เป็นการทำร้ายร่างกายกันเกิดขึ้น และไม่ยอมหยุดพฤติกรรมที่รุนแรง จนเด็กไม่มีความสุข ผู้ปกครองสามารถถ่ายภาพ รวบรวมหลักฐานจากการถูกทำร้ายร่างกาย สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้นั่นเอง

 

ไม่มีใครต้องทนกับพฤติกรรมของเด็กชอบแกล้ง บลูลี่คนอื่นหรอกนะ เป็นไปได้ควรแจ้งผู้ปกครอง พูดคุยกับคนที่คุณไว้ใจ เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรู้สึกปลอดภัย

 

ข้อมูล : โรงพยาบาลเพชรเวช,  โรงพยาบาลรามา , ส.ส.ส, กรมสุขภาพจิต ,ไทยรัฐ,กรุงเทพธุรกิจ

 

About the Author

Cheeiw

ฉันจบการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ เอกสาธารณะสุขศาสตร์ UDRU
ชอบช่วยให้ผู้หญิงให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น ^_^

เช่นเดียวกับผู้หญิงหลายๆ คน ฉันชอบแฟชั่น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เครื่องประดับ และอื่นๆเกี่ยวกับผู้หญิง 😍