รวมเรื่องเกี่ยวกับชุดชั้นใน
วันนี้เราได้นำความรู้ประวัติความเป็นมาของบราโดยย่อสมัยก่อนนั้นความเป็นมาของชุดชั้นในเป็นมาอย่างไร วันนี้เรามีประวัติโดยย่อให้สาวๆรู้กันค่ะ
ในปัจจุบันนี้มีชุดชั้นในให้เลือกแบบหลากหลาย มีทั้งมีโครง ไม่มีโครง สปอตบรา ไร้สาย เกาะอก มีให้เลือกหลากหลายมีเลือกหลากสี สีสันต์สวยงาม ชุดชั้นในมีส่วนสำคัญในการแต่งกาย เราควรเลือกแบบใหนให้เหมาะกับหน้าอกขของเรา และเนื้อผ้าแบบไหนดี เพราะบราคือตัวช่วยที่ช่วยประคองหน้าอกไม่ให้หย่อนคล้อย
ประวัติของชุดชั้นใน
บราหรือชุดชั้นในที่เราใส่ในปัจจุบันนี้สาวๆรู้ไหมค่ะว่ามีต้นกำเนิดที่ยาวนานมากต้นกำเนิดมาตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1913 หรือ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2456 หรือกว่าร้อยปีมาแล้ว และพัฒนามาตั้งแต่ศตวรรษที่20ชุดชั้นในนั้นแท้จริงมาจาก คำว่าอันเดอร์แวร์ Underwear แต่คนในสมัยนั้นมักเรียกกันว่า เฟาเดชัน Foundation ส่วนคำว่า บรา Bras นั้นมาจากคำว่า บราเซียร์ Brassiere ความหมายคือชุดชั้นในท่อนบนของผู้หญิง
โลกค้นพบบราตัวแรกที่ปราสาทแห่งหนึ่งในเมืองอินส์บรุค ประเทศออสเตรีย ทำจากลูกไม้ ทอด้วยผ้าลินินและลินินผสมฝ้ายก่อนที่จะเกิดสงครามครั้งใหญ่แฟชั่นก็กลายเป็นความกล้าหาญมากขึ้นมีศิลปะและดูไม่เป็นระเบียบ ในปีพ. ศ. 2456 ต้ขขขนกำเนิดของบราชนิดแรกออกแบบโดย Mary Phelps Jacob เป็นสังคมชั้นสูงของนิวยอร์คเกิดเมื่อ 1891 เธอได้ออกแบบบราสำเร็วเมื่ออายุเพียง22ปีโดยการออกแบบบราของเธอในยุคนั้นเธอต้องสวมเสื้อคุมยาวๆเพื่อจะไปออกงานชั้นสูง แต่สมัยนั้นบรายังไม่มี
ชาวโซเชียลชาวนิวยอร์กชื่อ แมรี่เฟลป์สเจ คอบได้ผ่านเข้าสูประวัติศาสตร์ชุดชั้นในเมื่อเธอได้รับสิทธิการประดิษฐ์บราเซียร์สมัยใหม่ตัวแรกของเธอ เมื่อรู้สึกผิดหวังกับการรัดตัวของกระดูกปลาวาฬของเธอภายใต้ชุดราตรีที่โปร่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจคอบจึงสร้างชุดชั้นในชั่วคราวจากผ้าเช็ดหน้าไหมสองผืนและริบบิ้นสีชมพู ผลงานที่มีเสน่ห์นี้กลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วและมีการจดลิขสิทธิ์ของชุดชั้นใน เป็นที่ยอมรับและการกล่าวขานในยุกต์สมัยนั้น
เนื้อผ้าชุดชั้นในส่วนใหญ่
ผ้าฝ้าย ของผ้าฝ้ายคือมีความปลอดภัยต่อสุขภาพของสาวๆ สวมใส่สะดวกสบาย ข้อเสีย เมื่อสวมใส่เป็นเวลานานผ้าจะยึดย้วยเร็วใส่ได้ไม่นานก็ยานแล้ว
ผ้าซาติน มีความเงางามเรียบสวย หรูหรา นุ่ม ทนทาน ไม่เสียทรงแม้จะซักหลายครั้งก็ไม่เสียทรง ข้อเสีย มีความหนากว่าผ้าฝ้ายมาก ทำให้ไม่ระบายอากาศและอับชื้นได้ง่าย
ผ้า cotton ของชุดชั้นในที่ผลิตจากผ้า cotton เมื่อสัมผัสเนื้อผ้ามีความนุ่มเมื่อสัมผัส ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี หมดห่วงเรื่องความอับชื้นไปเลยค่ะ ข้อเสีย ใช้ได้ไม่นานยึดย้วยเร็ว
ผ้าลูกไม้ มีลูกเล่นลูกไม้สวยงาม ผ้าลูกไม้เบาบาง น่ารักแถมเซ็กซี่ในตัว ข้อเสีย หยึดหยุ่นเล็กน้อย
ผ้าชีฟอง เนื้อผ้าบางเบา ไม่หนา ลวดลายสวยงามโปร่งใส ไม่มีความอับชื้น ข้อเสีย ไม่มีความยึดหยุ่น
ผ้า spandex เนื้อผ้า spandex เนื้อผ้ามีสีสันต์สดใสสวยงาม มีความยึดหยุ่นมาก สามารถยึดและกลับสภาพเดิม มีความกระชับมาก
ผ้า polyester เนื้อผ้าเส้นใยสังเคราะห์ ผ้ายืดหยุ่นมีความทนทาน ไม่ยับง่าย แห้งเร็วมากๆ ข้อเสีย การระบายอากาศไม่ค่อยดีนัก
การเลือกบราแบบมีโครงและไม่มีโครง
ในชีวิตประจำวันของสาวๆต้องสวมชุดชั้นในโดยส่วนมากแล้ว บางคนชอบใส่ชุดชั้นในแบบมีโครงเหล็กและแบบไร้โครงขึ้นอยู่กับความชอบของตัวบุคคล วันนี้เรามีวิธีแนะนำบรามีโครงและไร้โครงกันค่ะ
การเทียบไซส์กางเกงชั้นใน
การวัดขนาดของบราแบ่งเป็น 2 ส่วน
1. วัดรอบลำตัว (ถัดลงมาใต้หน้าอก) ใช้หน่วยเซนติเมตร
2. วัดรอบอก (จุดสูงสุด) ใช้หน่วยเป็นเซนติเมตร
การวัดขนาดกางเกงชั้นใน
1. วัดรอบสะโพกเพียงตำแหน่งเดียว ใช้หน่วยเป็นเซนติเมตร
สะโพก
นิ้ว เซ็นติเมตร ไซส์
34-36 85-91 S
35-37 88-94 M
37-40 94-100 L
สงสัยช่องเป้ากางเกงในมีไว้ทำไม
สาวๆหลายคนอาจมีความสงสัยว่า กางเกงในบางรุ่นมีช่องไว้ทำไม ตรงเป้ากางเกง หรือบางคนอาจไม่สังเกตุ ลองสังเกตุดูนะค่ะ
1 ช่องที่เป้า กางเกงใน บางรุ่นไม่มี บางรุ่นเป็นผ้าหนา เย็บติดกันทั้งหน้าหลังไม่มีช่องแต่บางรุ่นเขาจะเย็บแค่ด้านหลัง ปล่อยด้านหน้าให้เป็นช่องเหมือนช่องใส่ของเลยค่ะ งงไหมละค่ะ ช่องตรงเป้ากางเกงมีเอาไว้ทำไมกันนะ หลายๆคนคงสงสัยหรือบางคนอาจไม่ได้สังเกตุ คำตอบก็คือ เขาไม่เย็บผ้าข้างในกางเกงบริเวณด้านหน้า หรือเรียกว่าผ้าซับ เพราะถ้าเย็บจะมีรอยตะเข็บ ทั้งสองด้านจะทำให้การสวมใส่ไม่สบาย น้องสาวจะเกิดการระคายได้ค่ะ
2. ทำไมต้องรองผ้าซับในให้มีความหนาขึ้น เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัย ทำไมต้องเย้บหลายชั้นจัง การเย็บสองชั้นก็เหมือนการเสริมเหมือนใส่ผ้าอนามัยรอรับสิ่งที่เปลื่อนออกมาโดยปกติธรรมชาติของผู้หญิงจะหลังของเหลวออกมาบริเวณช่องคลอด ในบางครั้งเราจะเห็นคราบสีขาวๆออกมาติดขกางเกงใน ผ้าทีรองรับเปรียบเสมือนผ้าอนามัยแบบชิ้นเล็กๆนั่นเอง
3.สาวๆควรมีกางเกงในหลายๆตัวอย่างน้อยๆ 10 ตัวขึ้นไป เพราะเราสวมใส่กางเกงในๆทุกวัน หลายๆคนทำงานไม่มีเวลาซัก ซักผ้าอาทิตย์ละครั้งส่วนที่เหลือก็เอาไว้กันตาย ในบางวันที่ฝนตกเปียก หรือปัญหาประจำเดือนมาแล้วเปลี้อนเลือด แต่ที่แน่สาวๆคงมีกางเกงในจำนวนมากไม่น้อยกว่าเสื้อผ้าแน่นอนเพราะคือสิ่งจำเป็นที่ต้องสวมใส่ตลอดเวลา
4. รู้ไหมว่ากางเกงในมีอายุการใช้งาน ไม่ว่าจะเสื้อผ้า ร้องเท้า กางเกง ทุสิ่งอย่างล้วนมาอายุไข การใช้งาน หากเรามีกางเกงในน้อนใส่ซ่ำวนไปวนมายิ่งทำให้อายุการใช้งานนั้นสั้นลง เพราะยิ่งใส่ ยิ่งซักบ่อยขึ้น ควรจริงอายุการใช้งานขของกางเกงในมีอายุการใช้งาน 6 เดือน รู้แล้วสาวๆควรมีกางเกงในเก็บไว้ในสต๊อกนะค่ะสาวๆ เพื่อยืดอายุการใช้งาน
5. เวลานอนไม่ควรสวมใส่กางเกงใน ถึงแม้ว่ากางเกงในเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสวมใส แต่ แต่ เวลานอนสาวๆรู้ไหมค่ะว่าเวลาน้องสาวก็ต้องการพักผ่อนเช่นกัน การใส่กางเกงในเวลานอนทำให้รู้สึกไม่หลับไม่สบาย อึดอัด ไม่ได้ระบายอากาศ สาวๆหลายคนอาจยังไม่เคยลอง ลองทำตามดูนะค่ะแล้วจะหลับสบายนอนหลับฝันดี
เลือกแบบที่สาวๆชอบมากที่สุด
สาวๆไม่ต้องกังวลใจไปเพราะสมัยนี้บราหลายๆชนิดมีการเสริมฟองน้ำ เลยไม่ต้องกังวลใจเกี่ยวกับหน้าอกแบบไหน ปัจจุบันมีบราเลือกหลากหลายแบบแต่ส่วนใหญ่จะนิยมใส่ในชีวิตประจำวันได้แก่
Push up bras คือดันทรง ออกแบบมาเพื่อสาวๆที่มีหน้าอกขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่า อกไข่ดาว โดยส่วนใหญ่แล้วดันทรงชนิดนี้มีอุปกรณ์พิเศษนั่นคือการเสริมฟองน้ำ บางรุ่นอาจถอดออกได้เมื่อไม่ต้องการ แต่บางรุ่นไม่สามารถถอดออกได้
Demi เป็นยกทรงครึ่งเต้าออกแบบมาเพื่อสาวๆชอบโชว์เนินออก สาวมารถสวมใส่กับเสื้อคอวี สามารถโชว์เนินหน้าอกดันหน้าอกให้ดูสวยงาม
Full คือยกทรงที่ออกแบบมาเพื่อปกปิดเต้าได้อย่างมิดชิด เหมาะสำหรับสาวๆที่มีหน้าอกที่มีขนาดใหญ่
ยกทรงที่มีสายไข้วกัน รูปแบบ X,T,Y เหมาะสำหรับใส่เสื้อเว้าไหล่ค่ะ
ใส่บราให้ถูกวิธี
ก่อนที่สาวๆจะเลือกซื้อบราทุกครั้งควรเช็ค เพราะบราแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน -สิ่งแรกคือการคล้องสายบรากับแขนทั้งสองข้างจากด้านหน้า
-โน้มตัวไปด้านหน้า ให้เอื้อมมือไปติดตะขอด้านหลังเลือกตะขอที่พอดีที่สุด ไม่รัดเกินไปและไม่หลวมมากเกินไป จากนั้นลองขยับและจับบราดูเล็กน้อยว่าสามารถขยับตัวได้สะดวกไหมเพื่อให้หน้าอกถ่ายน้ำหนักไปข้างหน้า ทั้งนี้ก็เพราะให้หน้าอกอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
-โกยเนื้อหน้าอกที่ย้อยออกไปนอกบราเข้ามา ซึ่งอยู่บริเวณใต้รักแร้ ขณะที่กำลังโกยเนื้อเข้ามาในบราให้ใช้มืออีกข้างที่ไม่ได้โกยเนื้อเข้ามาขยับบราให้กระชับรับเนื้อที่โกยเข้ามา ทำซ้ำทั้งสองข้าง
ลองขยับตัว เพื่อตรวจดูว่าบรากระชับดี ไม่รัดและไม่หลวมเกินไป
ดูแลรักษาบราอย่างไรให้ถูกวิธี ?