Categories
Blog

10 เหตุผลที่ควรอยู่ไฟหลังคลอด

 

การอยู่ไฟ การอยู่ไฟหลังคลอด เป็นเรื่องที่คุณแม่หลังคลอดให้ความสำคัญเสมอในสมัยก่อน ผู้หญิงหลังคลอดทุกครอบครัวจะเข้มงวดกับเรื่องการอยู่ไฟอย่างจริงจัง คนสมัยก่อนมีความเชื่อว่า คุณเเม่หลังคลอดมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเป็นอย่างมาก ทั้งรูปร่าง ร่างกาย สรีระ ทุกอย่างเกิดการเปลี่ยนแปรงไปอย่างมาก หลังจากคลอดลูกน้อยทำให้ร่างกายมีความอ่อนแอ อ่อนเพลียอย่างมาก การเจ็บปวด การอักเสบของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามตัวอย่างมาก และคนสมัยก่อนมีความเชื่อกันว่าการอยู่ไฟมีประโยชน์มากมายสำหรับผู้หญิงหลังคลอดอย่างมาก เช่น การอยู่ไฟสามารถช่วยขับน้ำคาวปลา กระตุ้นน้ำนม และฟื้นฟูสภาพร่างกายที่อ่อนล้าหลังคลอดได้เป็นอย่างดี เป็นต้น

ดังนั้น การอยู่ไฟจึงเป็นวิธีทางแพทย์แผนไทยที่สืบทอดกันมายาวนาน แต่ในยุกสมัยที่เปลี่ยนไป อาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีที่ทำให้สะดวกสบาย และปลอดภัยมากขึ้นนั่นเอง

Pixabay

การอยู่ไฟมี 2 แบบ แบบคลอดปกติ และแบบผ่าตัดคลอด

1. อยู่ไฟแบบคลอดปกติ การอยู่ไฟได้ในช่วงหลังคลอด           7- 30 วันอยู่ไฟทุกวันติดต่อกันไม่เกิน 30 วัน

2. อยู่ไฟแบบผ่าตัดคลอด ผ่าคลอดเกิน1เดือนขึ้น(แผลผ่าตัดหายแล้ว)แต่ไม่เกิน 3 เดือนอยู่ไฟทุกวันติดต่อกัน 7- 30 วัน

สาเหตุผลของการอยู่ไฟ

การอยู่ไฟในสมัยก่อน มีความเชื่อว่า หลังจากที่คลอดลูกร่างกายจะเหนื่อยล้าเจ็บปวดร่างการอย่างมาก การใช้ความร้อนเข้าช่วย จะทำให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น ฟื้นฟูสภาพร่างกายที่อ่อนล้าหลังการคลอด ช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้เลือดลมหมุนเวียนได้ดีขึ้น ปรับสมดุลร่างกายให้เข้าที่ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ขับน้ำคาวปลา ความร้อนของการอยู่ไฟยังช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ดีอีกด้วย และที่สำคัญไม่ต้องกังวลเมื่ออายุมากขึ้นจะมีอาการหนาวสั่นสะทานในกระดูก ช่วยลดอาการปวดตามตัวได้อีกด้วย บางคนอาจเคยได้ยิน คนเฒ่าคนแก่มักพูดว่าใครไม่อยู่ไฟ หรือ อยู่ไฟไม่พอ พอแก่ตัวร่างกายจะหนาวสะท้านถึงกระดูกนั่นเอง

ในส่วนที่การอยู่ไฟจะต้องนอนผิงไฟตลอดเวลานั้น คนสมัยก่อนมีความเชื่อว่า ร่างกายจะไม่สูญเสียเหงื่อมาก มักกินข้าวกับเกลือ หรือ ปลาเค็ม เพื่อทดแทนการสูญเสียเหงือจำนวนมาก และที่สำคัญช่วงอยู่ไฟ จะงดของแสลงทั้งหลาย เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ หรือ ส้มตำ อาหารสเผ็ดจัดเป็นต้น  โดยส่วนมากมักจะได้กินข้าวกับ ปลาเค็ม ขิง หรือ แกงหัวปลี เพื่อเพิ่มน้ำนมนั่นเอง แต่ในสมัยนี้มีอาหารหลากหลายให้เลือกทาน ระหว่างอยู่ไฟ เช่น น้ำขิง ข้าวต้มปลามิโซะ  แกงเลียงกุ้งสดหัวปลี ปลาซาบะนึ่งมิโซะ เป็นต้น

อยู่ไฟ ทำอย่างไร ?

ในสมัยก่อน  เช่น การนั่งถ่าน การเข้ากระโจม การประคบสมุนไพร การย่างไฟ การรมเตา การทับหม้อเกลือ หรือการนาบหม้อเกลือ เป็นต้น แต่ในปัจจุบัน มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น เช่น การใช้ตู้อบไอน้ำ หรือการนำกระเป๋าน้ำร้อนมาอังที่หน้าท้อง เป็นต้น

อยู่ไฟ จำเป็นหรือไม่ ?

การอยู่ไฟหลังคลอด ยังจำเป็นอยู่ไหมสมัยนี้ ? การอยู่ไฟเป็นวิธีการพักฟื้นหลังคลอด ซึ่งมีมาแต่สมัยโบราณ ในยุกต์ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขไทยได้แนะนำการอยู่ไฟ ให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลตนเองสำหรับผู้หญิงหลังคลอด เพราะเชื่อว่าอาจช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น และช่วยดูแลสุขภาพร่างกายในด้านต่าง ๆ ได้ด้วย

ขั้นตอนการอยู่ไฟ
  1. การอยู่ไฟสมัยก่อน โดยวิธีการนอน นั่งบริเวณแคร่ขนาดเล็กใกล้กับเตาไฟร้อน ๆ ภายในห้อง หรือ ในบ้าน 7- 30 วัน
  2. หาสมุนไพรไทยต่างๆที่ใช้ในการอยู่ไฟ ได้แก่ ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ตะไคร้ ผิวมะกรูด ว่านชักมดลูก ใบเปล้า ใบมะขาม ผลส้ม เป็นต้น
  3. นำไปต้มน้ำเพื่อให้ได้ไอความร้อน และตั้งสมุนไพรที่ต้มแล้วไว้ใกล้ตัวในห้องที่อากาศถ่ายเทสะได้ดวก
  4. การอยู่ไฟควรอยู่ไฟประมาณ 7-30 วัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของครอบครัวนั่นเอง ไม่ควรนั่งอยู่บนแคร่ทั้งวัน ควรทำ 3 ครั้ง/วัน ครั้งละ 15-20 นาที เพราะร่างกายควรเว้นช่วงพัก เพื่อให้ผ่อนคลายด้วย
  5. ควรจิบน้ำร้อน หรือน้ำสมุนไพรที่ต้มไว้อย่าให้ขาด ดื่มเป็นระยะเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดน้ำ หรือทานข้าวต้มผสมเกลือ ทำให้ร่างกายไม่สูญเสียเกลือแร่นั่นเอง อาจเติมขิงด้วยเพื่อช่วยเพิ่มน้ำนมด้วยนั่นเอง
  6. นอกจากการจิบน้ำร้อน และดื่มน้ำสมุนไพรที่ต้มแล้ว ควรอาบน้ำสมุนไพรที่ต้มด้วย ไม่ควรอาบน้ำเย็น ล้างผมด้วยน้ำสมุนไพรอุ่นๆซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ดีสำหรับร่างกาย คนสมัยก่อนจะต้มน้ำสมุนไพรเป็นหม้อใหญ่ๆสำหรับอาบ อาบวันละหลายๆหม้อกันเลยทีเดียว และอาบน้ำสมุนไพรที่ต้มไว้จนหมดในแต่ละวัน
  7. สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ ควรมีคนอยู่ดูแลตลอดการอยู่ไฟ เพราะบางครั้งแม่หลังคลอดยังอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า อาจเผลอหลับ หรือวูบได้ การอยู่ไกล้ไฟไม่ปลอดภัยเท่าไหร่นักหากอยู่คนเดียว

10 เหตุผลที่ควรอยู่ไฟ

  1. การอยู่ไฟ สามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายที่อ่อนล้าหลังการคลอด หลังจากเสียเลือดจำนวนมากจากการคลอด
  2. การอยู่ไฟช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยขับน้ำคาวปลา น้ำคาวปลาไหลดีขึ้น
  3. การอยู่ไฟ น้ำสมุนไพรที่ใช้กิน และใช้อาบในระว่างที่อยู่ไฟ ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ผิวพรรณเปร่งปรั่งขึ้นนั่นเอง
  4. การอยู่ไฟ ร่างกายได้ผ่อนคลาย การดื่มน้ำอุ่นไม่ให้ขาดระหว่างอยู่ไฟ จะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
  5. การอยู่ไฟ ช่วยพักฟื้นเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายได้พักเร็วขึ้น ปรับสมดุลให้แก่ร่างกาย
  6. คุณแม่หลังคลอดส่วนใหญ่ มักจะรู้สึกว่าหนาวกว่าปกติ หนาวแบบเข้ากระดูก ร่างกายรู้สึกเย็นภายใน การอยู่ไฟจะสามารถช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย และป้องกันอาการหนาวสะท้านเข้าถึงกระดูกในอนาคตได้นั่นเอง
  7. การอยู่ไฟหลังคลอดสามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น
  8. การอยู่ไฟช่วยลดความรู้สึกชาที่บริเวณมือ หรือเท้าและการเกิดตะคิวได้นั่นเอง
  9. การอยู่ไฟยังลดปัญหาผิวบวมช้ำ ช่วยให้หน้าท้องยุบเร็วขึ้น น้ำหนักลดลงเร็ว
  10. การอยู่ไฟ ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อย ช่วยลดอาการเจ็บป่วย เมื่อกล้ามเนื้อเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น
Wayne Evans
ข้อควรระวังของการอยู่ไฟ
  • สิ่งที่ควรระวัง ควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงสว่างเพียงพอ หากบริเวณที่อยู่ไฟ อากาศไม่ถ่ายเทจะทำให้บริเวณนั้นมีแต่ควันไฟ จะทำให้แสบตา และหายใจไม่สะดวก
  • การอยู่ไฟ สิ่งที่ควรระวังคือการก่อไฟ อย่าก่อไฟลุกโชนเกินไป อาจเกิดอันตราย ทำให้เกิดแผลไฟไหม หรือ แผลผุพองได้เกิดขึ้นได้
  • ห้ามนำลูกน้อยเข้าไปอยู่ไฟด้วย เพราะความร้อนจะทำให้ลูกน้อยเสียน้ำ และเกลือแร่ อาจแสบตาจากควันไฟ หรือบางครั้งอาจเกิดอันตรายกับลูกน้อยได้ ควรแยกลูกน้อยไว้อีกห้อง
  • การอยู่ไฟ สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างคือ ควรดื่มน้ำอุ่นตลอด และดื่มเรื่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะขาดน้ำนั่นเอง
  • ไม่ควรใช้ฟืนเหล่านี้ในการอยู่ไฟ เช่น ไม้มะม่วง ขนุน งิ้ว หรือนุ่น เป็นต้น เพราะอาจทำให้เกิดควันมากเกินไป และไม่ควรใช้ฟืนไม้ที่อ่อนจนเกินไปเช่นกัน

 

By Pairin S.

ฉันจบการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ เอกสาธารณะสุขศาสตร์ UDRU
ชอบช่วยให้ผู้หญิงให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น ^_^

เช่นเดียวกับผู้หญิงหลายๆ คน ฉันชอบแฟชั่น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เครื่องประดับ และอื่นๆเกี่ยวกับผู้หญิง 😍

X